การบริหารจัดการ account

ประวัติ TKP

รำวงคองก้า


ประวัติและความเป็นมาของรำวงคองก้า
ในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา (พ.ศ.๒๔๘๔-๒๔๘๘) ทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพง สับสน และกำลังเผชิญหน้าอยู่กับการคุกคามทั้งทางแสนยานุภาพและวัฒนธรรม รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม ซึ่งได้เตรียมตัวรับมือกับสถาวะเช่นนี้มาก่อนแล้ว ด้วยการประกาศการเตรียมพร้อมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การคมนาคม การค้า ตลอดจนความเป็นอยู่แบบ “พอเพียง” รวมไปถึงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขนานใหญ่ เพื่อสร้างกำหนดกฎเกณฑ์ ให้ข้าราชการและประชาชนถือปฎิบัติอย่างมีแบบแผน ตั้งแต่การสวมหมวก สวมเกือกและการใช้ภาษา ทั้งหมดนี้เพื่อให้คนในชาติดูมีอารยธรรม ไม่แตกต่างไปจากการปฏิวัติวัฒนธรรมในสมัยของรัชกาลที่ ๕ เท่าใดนัก แต่ดูเหมือนมีสิ่งหนึ่งที่จะแปลกแยกออกมา จนทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ท่านผู้นำกำหนดขึ้นมาทำใมคือ “รำวง” ทั้งที่ดูจะไม่ “สากล” เท่าไหร่ ทั้งนี้ต้องย้อนกลับไปในยุคนั้น ซึ่งประชาชนทั้งอดอยากทั้งเครียด ทั้งยังต้องคอยหลบระเบิด ที่มาทักทายอยู่เสมอๆ ญี่ปุ่นเองก็เต็มบ้านต็มเมืองไปหมด นี่เองที่ทำให้ประชาชนหันมาคลายเครียดด้วยการ “รำโทน” ท่านผู้นำจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม อาศัยแนวคิดที่ว่าเมื่อแสนยานุภาพสู้ไม่ได้ ก็ต้องสู้กันด้วยวัฒนธรรม จึงกำหนดให้การร้องรำทำเพลงในลักษณะนี้ เป็นการบำรุงขวัญราษฎรเพื่อมิให้หวาดหวั่นทุกข็ร้อนจนเกินไป ผลพลอยได้ก็คือ ทำให้ญี่ปุ่นเองเห็นว่า คนไทยไม่ได้วิตกกังวลอะไรนักกับการยึดบ้านยึดเมืองในครั้งนี้ ถือเป็นการลดความตึงเครียดให้กับทั้งสองฝ่าย เพิ่มเติม

No comments:

Post a Comment