การบริหารจัดการ account

ประวัติ TKP

ดอนปู่ตากับความเชื่อของชาวอีสาน


วัฒนธรรมความเชื่อ
ดอนปู่ตากับความเชื่อของชาวอีสาน
ความเป็นมา
อีสานเป็นชุมชนเกษตรกรรม ที่สืบทอดมรดกจากบรรพชนมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยผูกพันกับธรรมชาติป่าวัฒนธรรมชุมชนอย่างเน้นเฟ้น ได้รับการสั่งสมแนวคิด ภูมิปัญญา ปลูกศรัทธา คติ ความเชื่อจนเป็นแบบแผนการดำรงชีวิตที่มีคุณค่า อันแสดงให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดของทรัพยากรบุคคลและสังคมพื้นถิ่น
สังคมอีสานเคร่งครัดในรูปแบบของประเพณี พิธีกรรม เชื่อถือในเรื่อง บาป-บุญ คุณ-โทษ ขวัญ-วิญญาณ เทวดาอารักษ์ ตลอดจนผีสางนางไม้อย่างจริงจัง โดยมีการเซ่นสรวงบัดพลีตามฤดูกาลพร้อมกันนี้ กังปฏิบัติภารกิจทางศาสนาด้วยความมั่นคงตามค่านิยมของชุมชน เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ หรือแก้ไขปัญหาชีวิตที่พึงมี อันจะเป็นประหนึ่งภูมิคุ้มกันภัยพิบัติทั้งหลายทั้งปวงมิให้มากล้ำกรายตน หรือครอบครัวตลอดจนทุกชีวิตในชุมชน นอกจากนี้ยังได้แสดงถึงความกตัญญูเชิดชูคุณความดีของบรรพชนผู้กลายเป็นผีไปแล้วอีกด้วย
คติความเชื่อเรื่อง “ผี” นั้นชาวอีสานเชื่อกันว่า ผีมีอยู่สองกลุ่มใหญ่ กลุ่มหนึ่งเป็นผีประเภทแผ่คุณความดี ช่วยคุ้มครองปกป้องภัยพิบัติทั้งปวงที่จะมากล้ำกราย ตลอดจนดูแลรักษาชุมชนให้เกิดสันติสุข ขณะเดียวกันก็อาจบันดาลให้เกิดความเดือดร้อนยุ่งยากได้ หากผู้ใดล่วงละเมิดขาดความเคารพยำเกรง หรือมีพฤติกรรมอันไม่พึงปรารถนาของชุมชน กลุ่มผีดังกล่าวมีผีเจ้า ผีนาย ผีบ้าน ผีเรือน ผีเจ้าที่ ผีปู่ย่า ผีปู่ตา ผีตายาย ผีมเหสักข์ หลักเมือง ผีฟ้า ผีแถน ผีมด ผีหมอ ผีเจ้าปู่หลุบตา หรือผีที่ชาวบ้านนับถือเฉพาะถิ่นซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เป็นต้น ส่วนผีอีกกลุ่มหนึ่งเป็นผีร้ายที่คอยมุ่งทำลายล้าง เบียดเบียน ก่อความวุ่นวายสับสนให้เกิดโทษภัยอยู่เนืองๆ เช่น ผีปอบ ผีเปรต ผีแม้เล้ง ผีห่า เป็นต้น
เมื่อชาวบ้านได้ก่อตั้งชุมชนขึ้นมา ณ บริเวณใดก็ตามย่อมจะต้องสร้างบ้านเรือน โรง หอ หรือศาล (ตูบ) ไว้เป็นที่พำนักอาศัยของกลุ่มผีประเภทที่ให้คุณไว้เสมอ ณ บริเวณใกล้เคียง เพื่อเป็นที่พึ่งพิงสำหรับบูชาเซ่นสรวงสังเวยเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจ ศึกษาเพิ่มเติม

No comments:

Post a Comment