การบริหารจัดการ account

ประวัติ TKP

ศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่

ศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่
กศน.ตำบลชานุวรรณ

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครองเป็นไปอย่างรวดเร็ว การพัฒนาความเจริญด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมโดยภาพรวมเป็นสังคมวัตถุนิยมเน้นการตอบสนองความต้องการทางด้านวัตถุและเงินเป็นหลัก ขาดการพัฒนาทางด้านจิตใจให้รู้เท่าทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้น ความเห็นแก่ตัวจึงมากขึ้นในสังคมการรวมกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกันน้อยลง หวังพึ่งพิงผู้อื่นจนลืมพัฒนาตนเองทำให้ขาดหลักการพึ่งตนเองสถานการณ์การพัฒนาปัจจุบันจึงจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องส่งเสริมการพัฒนาตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานให้กับสังคมไทย จำเป็นที่จะต้องมีการส่งเสริมให้ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง ให้เห็นและปฏิบัติได้ผลจริงอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้เพื่อเป็นการพื้นฟูคุณธรรม จริยธรรม หรือภูมิปัญญาที่เคยมีอยู่คู่สังคมไทยให้กลับคืนมาเป็นสังคม/ชุมชนที่มีความอบอุ่นเอื้ออาทรและพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนในที่สุด เทศบาลตำบลอุโมงค์จึงได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลอุโมงค์ ขึ้นเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนที่มีหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ ศึกษาเพิ่มเติม

นายสำอาง หมุกหมาก

ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรม
สาขาการจักสาน
ประวัติของภูมิปัญญาท้องถิ่น
นายสำอาง หมุกหมาก เกิดเมื่อ วันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ที่บ้านน้ำอ้อม
ตำบลน้ำอ้อม อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ที่อยู่ปัจจุบัน
คือ บ้านเลขที่ ๑๒๐ หมู่ที่ ๗ ตำบลน้ำอ้อม
อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
วิธีถ่ายทอดองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ
นายสำอาง หมุกหมาก เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มี
ความเชี่ยวชาญด้านหัตถกรรม สาขาการจักสานกล่องข้าวจากไม้ไผ่
ถ่านทอดความรู้ให้แก่ผู้สนใจ ในเขตชุมชนตำบลน้ำอ้อม โดยมีวิธีการถ่ายทอด คือ การอธิบาย สาธิต และการฝึกปฏิบัติจริง โดยกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการถ่ายทอด คือประชาชนในเขตตำบลน้ำอ้อม จำนวน ๑๒๐ คนต่อปี ลักษณะของการสร้างเครือข่าย จะเป็นการประชาสัมพันธ์ การประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ การนำเอาผลิตภัณฑ์ไปจัดแสดง และจำหน่ายตามงานต่างๆ ซึ่งมีเครือข่าย คือโรงเรียนบ้านน้ำอ้อม องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำอ้อม ประชาชนผู้สนใจทั่วไป หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน
ประสบการณ์ หรือความเชี่ยวชาญด้านอื่นๆ นายสำอาง หมุกหมาก มีประสบการณ์ในการสานกล่องข้าวเป็นระยะเวลา ๒๕ ปี และประสบการณ์การเป็นผู้นำชุมชน เป็นที่ยอมรับนับถือ เป็นประธานกองทุนหมู่บ้าน เป็นเหรัญญิก กลุ่มกองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ เป็นเหรัญญิกกลุ่มโคขุน เป็นประธานชุมชน หมู่บ้าน SML ซึ่งเป็นที่ยอมรับของประชาชนในชุมชน ด้านการเสียสละ การเป็นผู้นำชุมชน และการเป็นตัวแทนนักศึกษาระดับประถมศึกษา ที่ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม ศึกษาเพิ่มเติม

กลุ่มอาชีพการทอเสื่อกก

อาชีพการทอเสื่อกก

กลุ่มอาชีพการทอเสื่อกก นางวัลลิกา สังข์ศิลา บ้านเลขที่ ุึ 67 หมู่ที่ 3 ต,น้ำอ้อม อ.เกษตรวิสัย จ,ร้อยเอ็ด
ขั้นตอนที่ 1 การสอยต้นกก
1. ตัดต้นกกสด
2. คัดเลือกต้นกกที่มีขนาดเท่ากันไว้ด้วยกัน
3. นำต้นกกที่คัดแล้วมาสอยเป็นเส้นเล็กโดยใช้มีดปลายแหลมคม(มีดแกะสลัก)
4. นำเส้นกกที่สอยแล้วมาผึ่งแดด ให้แห้ง(ถ้าเป็นไปได้ต้องเป็นแดดที่กล้าจัด)
5. นำเส้นกกสอยที่ตากแห้งแล้วมากมัดเป็นมัด ๆ รอการย้อมสี ศึกษาเพิ่มเติม

อาชีพทำเครื่องประดับ(สร้อยสายสมร)

วิธีร้อยสร้อยเครื่องประดับ( สายสร้อยเกลียว)
Ø นำลูกปัดขนาดเบอร์ มาร้อยด้วยสายเอ็นเบอร์ 30-35
ยาวขนาด 24 นิ้ว 3 เส้นแล้วตัดให้เหลือปลายไว้ 30 cm
Ø นำทั้ง 3 เส้นมาเข้าหัวด้วยลูกปัดขนาดโตเข้าเป็นหูห้อย
Ø นำหูที่เข้าแล้วเกาะไว้ที่มอเตอร์ปั่นเกลียว
Ø นำปลายสาย 3 เส้นเข้ามอเตอร์เส้นละตัวจัดขนาดให้ได้
โดยประมาณพอดี
Ø เปิดสวิตควบคุมมอเตอร์เส้นทั้ง 3 ตัวให้หมุนโดยประมาณ
พอดี แล้วหยุด
Ø ให้กดสวิต ปั่นเกลียวทั้งสามเส้นเข้าด้วยกัน
Ø ให้เข้าหัวที่เหลืออีก 1 ข้างผูกเก็บปลายสายเอ็ดให้เรียบร้อย ศึกษาเพิ่มเติม

นางสุภาภรณ์ ชานาง ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านโภชนาการ (การทำขนมไทย)

ขนมจัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยใช้คำว่าสำรับกับข้าวคาว-หวาน โดยทั่วไปประชาชนจะทำขนมเฉพาะในงานเลี้ยง นับตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระ งานมงคลและงานพิธีการ อาหารหวานที่จัดเป็นสำรับจะต้องประกอบด้วย ของหวานอย่างน้อย 5 สิ่ง ซึ่งต้องเลือกให้มีรสชาติ สีสัน ชนิด ตลอดจนลักษณะที่กลมกลืนกัน แต่ละสำรับจะต้องมีผลไม้ 10 ที่ และขนมเป็นน้ำ 1 ที่เสมอ เพิ่มเติม

อาชีพสานตะกร้าพลาสติก

การกระเป๋าสานจากเส้นพลาสติก ที่รับรองว่าทำง่าย และน่าภูมิใจ ซึ่งอุปกรณ์ก็หาซื้อได้ทั่วไป ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก
วัสดุอุปกรณ์ในการตะกร้าพลาสติก
1. เส้นพลาสติก
2. กรรไกร
3. ลวด
ขั้นตอนที่ 1. สานฐานตะกร้า
นำเส้นพลาสติกที่เตรียมไว้ มาสานสลับแนวตั้งกับแนวนอนให้มีลักษณะ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส จากนั้นสานโดยเพิ่มรอบทีละ 1 เส้นทั้ง 4 ด้านให้ครบจำนวนเส้นพลาสติกที่เตรียมไว้ทำฐานดึงเส้นพลาสติก ให้แน่นเมื่อได้ขนาดตามที่ต้องการทำการยึดเส้นพลาสติก โดยใช้วิธีการสานเพื่อบังคับไม่ให้เส้นพลาสติกเคลื่อน จากนั้นพับเส้นพลาสติกให้ตั้งเป็นส่วนตัวตะกร้า
ขั้นตอนที่ 2. สานตัวตะกร้า
นำเส้นพลาสติกที่เตรียมไว้สานตัวตะกร้า มาเริ่มสานจากส่วนกลางตะกร้าจนรอบตัวตะกร้า ดึงเส้นพลาสติกให้แน่น จากนั้นก็เริ่มสานที่ละ 1 เส้นไปจนครบจำนวนเส้นพลาสติกที่เตรียมไว้สำหรับทำตัวตะกร้า
ขั้นตอนที่ 3. สานปากตะกร้า
พับเส้นพลาสติกตัวฐานลงทุกเส้น โดยสอดเส้นพลาสติกตามแนวจำนวน 2 ตา แล้งดึงเส้นพลาสติกให้แน่น ทำการสานวนรอบปากตะกร้าอีกครั้งโดยใช้เส้นพลาสติกที่มีความยาวเป็น 2 เท่าของเส้นตัวตะกร้า
หลักสูตรการสานตะกร้าพลาสติก
วัสดุอุปกรณ์ 1. เส้นพลาสติก 2. กรรไกร 3. ลวด
1. สานฐานตะกร้า นำเส้นพลาสติกที่เตรียมไว้ มาสานสลับแนวตั้งกับแนวนอนให้มีลักษณะ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส จากนั้นสานโดยเพิ่มรอบทีละ 1 เส้นทั้ง 4 ด้านให้ครบจำนวนเส้นพลาสติกที่เตรียมไว้ทำฐานดึงเส้นพลาสติก ให้แน่นเมื่อได้ขนาดตามที่ต้องการทำการยึดเส้นพลาสติก โดยใช้วิธีการสานเพื่อบังคับไม่ให้เส้นพลาสติกเคลื่อน จากนั้นพับเส้นพลาสติกให้ตั้งเป็นส่วนตัวตะกร้า
2. สานตัวตะกร้า นำเส้นพลาสติกที่เตรียมไว้สานตัวตะกร้า มาเริ่มสานจากส่วนกลางตะกร้าจนรอบตัวตะกร้า ดึงเส้นพลาสติกให้แน่น จากนั้นก็เริ่มสานที่ละ 1 เส้นไปจนครบจำนวนเส้นพลาสติกที่เตรียมไว้สำหรับทำตัวตะกร้า
3. สานปากตะกร้า พับเส้นพลาสติกตัวฐานลงทุกเส้น โดยสอดเส้นพลาสติกตามแนวจำนวน 2 ตา แล้งดึงเส้นพลาสติกให้แน่น ทำการสานวนรอบปากตะกร้าอีกครั้งโดยใช้เส้นพลาสติกที่มีความยาวเป็น 2 เท่าของเส้นตัวตะกร้า ศึกษาเพิ่มเติม

เลิงขี้ตุ่น

เลิงขี่ตุ่นเป็นลำน้ำเสียวอยู่ในเขตการปกครองของเทศบาลตำบลดอกไม้หมู่ที่ ๑๔บ้านยางเลิง ติดเขตตำบลนาใหญ่และตำบลหินกอง อยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอสุวรรณภูมิ ห่างจากอำเภอ ประมาณ ๗ กิโลเมตร ระยะห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๕๒ กิโลเมตร มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ลำน้ำทำมาหากินชองชาวบ้านมากมายด้วยปลานาๆๆชนิดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวบ้านยางเลิง เพิ่มเติม

กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง ลายสาเกตุ บ้านเกษมสุข

รายละเอียดผู้ประกอบอาชีพ ของกลุ่มทอผ้าสาเกตุ บ้านเกษมสุข หมู่ที่ ๑๑ ตำบลพลับพลา อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด

ประวัติการทอผ้าลายสาเกตุบ้านเกษมสุข

การทอผ้าลายสาเกตุนั้น เดิมความเป็นมาจากบรรพบุรุษ รุ่นสู่รุ่นจากบิดามารดา ตกทอดมาสู่รุ่นลูกหลาน ซึ่งผู้ทอผ้าส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือ การทำนา หลังจากว่างเว้นจากการทำนาแล้ว ก็จะนิยมปลูกต้นม่อน และเลี้ยงไหม เพื่อเป็นเส้นใยในการทอผ้า ซึ่งวัตถุประสงค์หลักคือการทอไว้เพื่อใช้ในครัวเรือนของตนเอง หลังจากนั้นก็อาจจะนำมาจำหน่าย ลวดลายในการทอผ้าเกิดจากการลองผิด ลองถูก คิดค้นไปมาและนอกจากนี้ยัง การจัดตั้งกลุ่มการทอผ้า เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒ศึกษาเพิ่มเติม

อ่านดีมีอาชีพ


ห้องสมุดจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีนิสัยใฝ่เรียนใฝ่รู้ในด้านทักษะการส่งเสริมอาชีพสู่แหล่งชุมชน  ดังนั้นห้องสมุดอำเภอปทุมรัตต์ จึงได้จัดทำโครงการ / กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน “อ่านดีมีอาชีพ” ขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบายกับความต้องการของผู้เรียนและผู้ที่ต้องการศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้นั้นมุ่งพัฒนา “ คน ” และ “ ชีวิต ” ให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้เต็มความสามารถ สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจและความต้องการของผู้เรียน อ่านเพิ่มเติม

นายเปลื้อง เกษตรสิงห์

ครูเปลื้อง เกษตรสิงห์
เกษตรผสมผสาน ไร่นาสวนผสม กล้วยหอมทอง โคขุน
ครูเปลื้อง เกษตรสิงห์ ข้าราชการบำนาญ วัย 65 ปี อยู่บ้านเลขที่ 234 หมู่ที่ 7 บ้านโนนหมากแงว ตำบลน้ำคำ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โทร. (093) 269-7690 ปัจจุบัน อยู่กับภรรยา มีลูกชาย 2 คน เป็นนายแพทย์ด้านกระดูก ที่โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนอีกคน ทำงานด้านเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ
หลังเกษียณอายุราชการ ครูสนใจประกอบอาชีพทางการเกษตร ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ประมง โดยเข้าเป็นสมาชิกโคขุนโพนยางคำ จังหวัดสกลนคร เลี้ยงโคลูกผสมชาร์โรเล่ส์ กับอเมริกันบราห์มันศึกษาเพิ่มเติม

นายสมยงค์ แสนน้ำเที่ยง หมอลำพื้นบ้าน

ภูมิปัญญา ด้านหมอลำพื้นบ้าน,หมอแคน

นายสมยงค์ แสนน้ำเที่ยง (หมอลำสมยงค์) อายุ 69 ปี

อาศัยอยู่บ้านกวางโตน ตำบลน้ำคำ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
เป็นภูมิปัญญาด้านการลำ การเป่าแคน มีเสียงลำเป็นเอกลักษณ์ หมอลำสมยงค์หัดฝึกการร้องการลำมาตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก เป็นผู้ลำบทกลอนประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น ซึ้งมีน้อยคนนักที่จะลำได้เพราะบทกลอนลำกลอนพื้นบ้านนั้นร้องยากมากศึกษาเพิ่มเติม

การสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก

การทำเครื่องจักสารตะกร้าพลาสติกในเขตตำบลน้ำคำ เกิดจากภูมิปัญญาที่มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นในลักษณะของการทำเครื่องจักสานลักษณะต่างๆ ซึ่งแต่เดิมได้นำวัตถุดิบจากธรรมชาติเท่าที่จะหาได้ใกล้ตัวมาทำให้เกิดประโยชน์ เช่น ไม้ไผ่ หวาย เป็นต้น ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในพื้นที่แถบนี้มาสานเป็นสิ่งของเครื่องใช้สำหรับใช้สอยในชีวิตประจำวัน กศน.ตำบลน้ำคำร่วมกับชุมชนในตำบลน้ำคำ ร่วมกันจัดทำเวทีประชาคมเพื่อให้ประชาชนคัดเลือกภูมิปัญญาในท้องถิ่นของตนมาถ่ายทอดเรียนรู้เพื่อป้องกันไม่ให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสูญหาย มติที่ประชุมจึงเห็นว่า ควรจัดทำเครื่องจักสานตะกร้าพลาสติกเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่มีความรู้เรื่องจักสานอยู่แล้วเพียงแต่ปรับเปลี่ยนวัสดุการสานมาเป็นเส้นพลาสติกเพื่อให้เกิดความทนทาน และสามารถออกแบบเครื่องจักรสานได้หลากหลายกว่า และหากชาวบ้านคนใดกลุ่มใดจะยึดเป็นอาชีพเสริมหลังจากเว้นว่างจากการตัดยางพาราก็สามารถทำได้และจะเป็นการอนุรักษ์ศิลปะการจักสานของคนรุ่นหลังได้สืบทอดต่อไป
4. วัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตตามภูมิปัญญาศึกษาเพิ่มเติม

การทำตุ๊กตา


ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนตำบลน้ำคำ การทำตุ๊กตา

ข้อมูลส่วนตัว ชื่อนายประยวน ดีสีทา วิทยากรผู้ให้ความรู้
เกิดเมื่อวันที่ ๔ เดือน พฤศจิกายน ปี ๒๕๑๔ ปัจจุบันอายุ ๔๔ ปี เป็นบุตรของ นายชวนรม ดีสีทา และ นางเสถียร ดีสีทา มีพี่น้องร่วมกัน ๔ คน
ลักษณะทั่วไป
ในปัจจุบันสิ่งที่ให้ความเพลิดเพลินคลายเหงาแก่บุคลทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หนึ่งในนั้นคงมีตุ๊กตารวมอยู่ด้วย ตุ๊กตามีมาแต่ช้านานไม่ว่าจะป็นตุ๊กตาดินเผา ตุ๊กตาอัดใยสังเคราะห์ ตุ๊กตาพลาสติก แต่ที่เป็นที่นิยมกันมากก็น่าจะเป็นตุ๊กตาหมี ตุ๊กตาหมี มีลักษณะขนปุยน่ารัก จึงเป็นที่ชื่นชอบของบุคคลทั่วไป ที่นิยมชื้อฝากเป็นของขวัญแก่บุคคลที่ตนรัก เป็นสินค้าที่ขายดีมาก
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษา กศน.ตำบลน้ำคำมีอาชีพเสริม มีความรู้ในการทำตุ๊กตา เพื่อนำไปประกอบอาชีพ
กศน.ตำบลน้ำคำจึงได้จัดทำหลักสูตร การทำตุ๊กตาขึ้น
1.วัสดุ/อุปกรณ์ในการทำตุ๊กตาศึกษาเพิ่มเติม

นางสาวสุมาลี วงค์หอม ภูมิปัญญาท้องถิ่น สอนร้อง รำ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นแห่งสายน้ำ

‘จากสายน้ำหลากไหลให้กำเนิด ได้ก่อเกิดประเพณีที่หลากหลาย

ประพันธ์เพลงเทพทักษิณ แสนภูมิใจ สอนร้อง รำ ให้ศิษย์ได้ถ่ายทอดมา ’

ประวัติส่วนตัว
นางสาวสุมาลี วงค์หอม เกิดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2516 ที่บ้านเตย ตำบลทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบุตรคนที่ 2 ของคุณพ่อสำราญ วงค์หอม และคุณแม่เบื้อง วงค์หอม
วุฒิการศึกษา
· ระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านจานเตย จังหวัดร้อยเอ็ด
· ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1- 3 โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล จังหวัดร้อยเอ็ด
· ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครราชสีมา
· ปริญญาตรีครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) วิชาเอกเคมีจาก สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
· ปริญญาโทการศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกหลักสูตรและการสอนจาก มหาวิทยาลัยมหาสารคามศึกษาเพิ่มเติม

เกษตรกรรม ทุ่งกุลา ดินแดนกว้างใหญ่ ข้าวหอมมะลิ ขจรไกล

ตำนานแห่งทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้” นี้มีเรื่องเล่าว่า พ่อค้าชาวเผ่ากุลาคนหนึ่งซึ่งมีอาชีพค้าขายสินค้าเครื่องประดับ และของใช้จิปาถะ เดินทางมาขายตามหมู่บ้านในภาคอีสาน หนทางไปนั้นมีแต่ทุ่งหญ้าที่แห้งแล้ง พ่อค้าชาวกุลานั้นคิดว่าตนเองเป็นนักต่อสู้ที่มี ความเข้มแข็งอดทนเต็มเปี่ยมและเดินได้เร็วคงจะใช้เวลาเดินทางไม่นาน จึงเตรียมอาหารและน้ำไปเท่าที่เคย เมื่อพ่อค้าเดินทางไปจริงๆ แล้วกลับพบว่าแสนกันดารเกินบรรยาย จนกระทั่งทนทุกข์ทรมานไม่ไหว จนต้องนั่งร้องไห้ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านก็พากันเรียกท้องทุ่งแห่งนี้ว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้”ศึกษาเพิ่มเติม

เปลี่ยนน้ำตาเป็นรอยยิ้ม

๑.ชื่อหนังสือ เปลี่ยนน้ำตา เป็นรอยยิ้ม
๒. ผู้แต่ง ประชาคม ลุนาชัย
๓.สำนักพิมพ์ อมรินทร์ธรรมะ
๔. ปีที่พิมพ์ ๒๕๕๓
๕. สรุปเรื่องย่อ/สาระสำคัญ
รวมบทความที่จรรโลงชีวิต ที่จะช่วยเปลี่ยนความผิดหวัง โศกเศร้าให้เป็นความแช่มชื่นเบิกบาน จุดพลังใจให้ลุกขึ้นต่อสู้ชีวิตใหม่อีกครั้ง หากความผิดหวังเป็นสีของความมืด แค่พลิกวิธีคิด เปลี่ยนมุมมองและทัศนคติ สีของโลกเบื้องหน้าเราย่อมเปลี่ยนไป อย่างน้อยก็สว่างขึ้นกว่าเดิม พอให้มองเห็นทางข้างหน้าบ้าง แล้วคุณจะรู้ว่าเพียงแค่เปลี่ยนวิธีคิด ชีวิตก็เปลี่ยนได้จริงๆ อย่างน่าอัศจรรย์จากหนังสือเล่มนี้ เพิ่มเติม

ประเพณีแซนโฎนตา

ประเพณีแซนโฎนตา (บุญข้าวสากเขมรที่ทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิ ร้อยเอ็ด)
ประวัติความเป็นมาของประเพณี
ชาวไทย เชื้อสายเขมรในจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ มีประเพณีงานบุญเดือน ๑๐ หรืองานสารท เพื่อทำบุญบูชา รำลึก และอุทิศอาหาร ข้าวของเครื่องใช้แก่บรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย หรือบุพการีผู้ล่วงลับไปแล้วเช่นเดียวกันกับกลุ่มคนไทยอื่นๆ แต่แตกต่างกันในขั้นตอนพิธีกรรม ปัจจุบันงานแซนโฎนตามีการปฏิบัติกันทั้งในครอบครัว หมู่บ้าน และจังหวัด จะทำพิธีในวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ ของทุกปี เชื่อว่าวิญญาณของบรรพบุรุษจะกลับมาเยี่ยมลูกหลาน หรือญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ สมาชิกในครอบครัวที่อาศัยอยู่ที่อื่นหรือที่แยกครอบครัวจะกลับมาเยี่ยมบ้าน ลูกสาวหรือลูกสะใภ้จะต้องเตรียมของฝาก “กันจือเบ็น” (กระเฌอสำหรับจัดเตรียมเครื่องเซ่นไหว้)เป็น เสื้อผ้าเครื่องใช้มาส่งครอบครัวใหญ่ และจะช่วยกันจัดเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ขนม ผลไม้ เสื้อผ้าเครื่องใช้ เพื่อใช้ในการเซ่นไหว้บรรพบุรุษของครอบครัวศึกษาเพิ่มเติม

วัดดงเย็นมหาวิหาร

ประเภทแหล่งเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้ที่เป็นวิชาการ/สถานที่
รายละเอียดของแหล่งเรียนรู้
วัดดงเย็นมหาวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 10 บ้านขวาว หมู่ที่ 16 ตำบลหนองฮี อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดวัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 76 ตารางวา น.ส. 3 เลขที่ 362 อาณา เขตทิศเหนือ 2 เส้น 14 วา จดถนน ทิศใต้ประมาณ 3 เส้น 10 วา จดหนองสาธารณะ ทิศตะวันออกประมาณ 2 เส้น 5 วา จดถนน ทิศตะวันตกประมาณ 2 เส้น 12 วา จดสวนนางอ่อนสา อาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ กว้าง 5 เมตร ยาว 19.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2521 ศาลาการเปรียญ กว้าง 12 เมตร ยาว 15.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2516 กุฏิสงฆ์ 2 หลัง หลังที่ 1 กว้าง 14 เมตร ยาว 20 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2516 หลังที่ 2 กว้าง 17 เมตร ยาว 30 เมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อ 2547 ปูชนียวัตถุพระประธาน 1 องค์ ศึกษาเพิ่มเติม

การเพาะเห็ดนางฟ้า

สถานที่ตั้ง (พิกัด) ของผู้ประกอบภูมิปัญญา
ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลหนองฮี อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด 45140
กระบวนการผลิต
นำส่วนผสมดังกล่าวข้างต้น ผสมให้เข้ากันด้วยมือหรือเครื่องผสมแล้วปรับความชื้น 60-65 % โดยเติมน้ำพอประมาณ ใช้มือกำขี้เลื่อยบีบให้แน่น ถ้ามีน้ำซึมที่ง่ามมือแสดงว่าเปียกเกินไป (ให้เติมขี้เลื่อยแห้งเพิ่ม) ถ้าไม่มีน้ำซึมให้แบมือออก ขี้เลื่อยจะรวมกันเป็นก้อนแล้วแตกออก 2-3 ส่วน ถือว่าใช้ได้แต่ถ้าแบมือแล้วขี้เลื่อยไม่รวมตัวเป็นก้อน แสดงว่าแห้งไป ให้เติมน้ำเล็กน้อย บรรจุขี้เลื่อยใส่ถุงพลาสติกทนร้อน น้ำหนัก 8-10 ขีด กระแทกกับพื้นพอประมาณ และทุบให้แน่นพอประมาณ 2 ใน 3 ของถุง หรือใช้เครื่องอัดก้อนเห็ด ใส่คอขวดปิดฝาด้วยฝาจุกแบบประหยัด นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่ 100 องศาเซลเซียส 3 ชั่วโมง แล้วนำมาพักให้เย็นในที่สะอาดก่อนใส่หัวเชื้อศึกษาเพิ่มเติม

ประเพณีเส็งกลอง

ประวัติความเป็นมา
กลองกิ่ง หรือกลองเส็ง เป็นกลองประเพณีมาแต่โบราณ ลักษณะการนำไปใช้ในงานจะแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของงานประเพณีนั้นๆ แต่ที่เหมือนกันคือ กลองกิ่งเป็นกลองที่ใช้ในการแข่งขันประชันความดัง เรียกว่า “การเส็งกลองกิ่ง”ศึกษาเพิ่มเติม

การทอผ้าลายขิด


ภูมิปัญญญาท้องถิ่น การทอผ้าลายขิด ข้อมูลทั่วไป
ผ้า ขิด เป็นวิธีการทำลวดลายบนผืนผ้า ด้วยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไป เหมือนการจก
แต่ลายขิดทำติดต่อกันตลอดหน้ากว้างของผืนผ้า โดยใช้ไม้แผ่นบางๆ เรียกว่า "ไม้ค้ำ" สอดเข้าไปในเส้น ด้ายยืน เพื่อสร้างลวดลายที่ต้องการ หรือทำลวดลายขิดจากเครื่องมือที่เรียกว่า "เขา" โดยสะกิดเส้นด้ายยืนขึ้นตลอดหน้ากว้างของผืนผ้า และเพิ่มเส้นด้ายพุ่งไปตามแนวเส้นด้ายยืนที่ช้อนขึ้นนั้น เส้นด้ายพุ่งและเส้นด้ายยืนจะขัดกันตามจังหวะที่ต้องการ จนเกิดเป็นลวดลายต่างๆ ที่เห็นจากทั้งด้านหน้าและด้านหลังของผืนผ้า ผ้าขิด นิยมทอในกลุ่มชนเชื้อสายไท ลาวซึ่งอาศัยอยู่ทั่วไปในแถบสองฝั่งลุ่มแม่น้ำโขง บางส่วนของภาคเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งทอด้วยลวดลายที่สวยงาม เช่นลายคชสีห์องค์น้อย ลายดอกแก้ว หรือลายช้างทรงเครื่องเป็นต้น และมีการทอขึ้นเพื่อใช้ในโอกาสพิเศษ ในงานมงคล หรือพิธีทางศาสนา จะใช้ทำหมอนขิด เพื่อเป็นของขวัญของกำนัลในโอกาสที่สำคัญ รองลงมาจะใช้ทำผ้าคลุมไหล่และผ้าโพกผมเป็นของขวัญของกำนัลให้แก่กัน นับถือกันว่าเป็นของดี ของสูง ในสมัยก่อนจึงเก็บผ้าขิดไว้บนที่สูง เช่นบนโต๊ะ หัวนอน หรือผูกแขวนไว้บนเพดาน ภูมิปัญญญาท้องถิ่น

วัดบ้านเหล่ากุด

วัดบ้านเหล่ากุด ตั้งอยู่ที่ บ้านเหล่ากุด หมู่ที่ 6 ตำบลสวนจิก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด มีพื้นที่ ประมาณ 3 ไร่ สังกัดเป็นวัดที่มีความสำคัญของอำเภอศรีสมเด็จ
ภายในวัดมีโบสถ์เเละเจดีย์ที่ก่อสร้างจากศิลาแลง วันที่ 9,10,11 กันยายน ของทุกปีจะมีพิธีสัการะองค์รูปเหมือนหลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว หลวงพ่อมหาพันธุ์ สีลวิสุทโธ และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เรียกว่า บุญเดือนเก้า เป็นบุญประจำปีของวัดบ้านเหล่ากุดศึกษาเพิ่มติม

วัดบ้านกล้วย

ประวัติความเป็นมา/จุดเด่น
ประวัติความเป็นมาของบ้านกล้วย บ้านกล้วยตั้งขึ้นในปี พ.ศ.ใดไม่มีใครทราบได้ แต่มีการร้างไปถึง 2 ครั้ง ในการร้างครั้งที่ 1 เนื่องจากเกิดโรคระบาด จึงได้มีการอพยพไปตั้ง หมู่บ้านโคกดู่ (บ้านโคกร้างในปัจจุบัน) ต่อมาได้อพยพหนีไปตั้งบ้านอยู่ชุมชนทางทิศตะวันตกของดอนปู่ตาเพื่อให้เจ้าปู่ปกปักษ์รักษา จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านดอน (บ้านดอนน้ำคำในปัจจุบัน) ขยายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ต่อมาเกิดโรคระบาดจึงได้อพยพหนีไปตั้งบ้านเรือนจนเป็นใหม่คือบ้านป่าเว่อ บ้านหนองคูยาง บ้านหนองสองห้อง ศึกษาเพิ่มเติม

กองทุนกลุ่มส่งเสริมการผลิตธูปหอม


บ้านงูเหลือม หมู่ที่ ๑๒ ตำบลดงแดง อำเภอ จตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
ธูป เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องสักการบูชาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ[1]เพื่อบูชาเทพเจ้าหรือทำให้เทพเจ้าพอใจด้วยของหอม ในอดีตธูปทำจากเนื้อไม้หอม (Aromatic wood) หลายชนิด เช่น ไม้จันทน์ขาว (Sandalwood) จันทน์เทศ (Nutmeg) กำยาน (Gum Benzoin เป็นยางไม้หอมชนิดหนึ่ง) ไม้กฤษณา (Agar wood) กันเกรา (Tembusu) หรือต้นบง หรือโกวบั๊วะ (นำมาผสมน้ำเพื่อให้เนื้อผงธูปเหนียว พอที่จะฟั่นเป็นธูปได้) บดเนื้อไม้ให้เป็นผงละเอียด นำมาเป็นวัตถุดิบในการทำธูป
ธูปไทยในอดีตที่ผลิตจากไม้หอม มีลักษณะคล้ายธูปจีนโบราณ (วัฒนธรรมและการทำธูปในไทย สืบทอดมาจากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และการค้าในอดีต) และเนื่องจากตัววัตถุดิบเป็นไม้หอม ควันธูปค่อนข้างละเอียด ไม่ระคายเคืองจมูกและตา
ปัจจุบัน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ประกอบกับวัตถุดิบที่แพงขึ้น ไม้หอมต่างๆที่นำมาผลิตธูปเริ่มมีราคาแพง ผู้ผลิตส่วนใหญ่ จึงเปลี่ยนมาใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแทน เนื่องจากมีราคาถูกกว่า และมีสีขาวนวลเหมือนไม้จันทน์ขาว ลักษณะเป็นผงละเอียด ขึ้นรูปได้ง่าย แล้วจึงนำมาผสมน้ำหอม เรียกว่า "ธูปหอม" เมื่อนำมาจุดจะให้ควันและกลิ่นหอม
ขั้นตอนการทำธูป คลิกที่นี้

กลุ่มแปรรูปเศษผ้า




กลุ่มแปรรูปเศษผ้า จังหวัดร้อยเอ็ด
ตั้งอยู่เลขที่ 45 ม.14 ตำบลดงแดง อำเภอจตุพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
สนใจผลิตภัณฑ์ ปลอกผ้าห่มน่วม ปลอกหมอน พรมเช็ดเท้า และผลิตภัณฑ์อื่นๆ
สั่งผลิตเป็นจำนวนมาก ในราคาถูกสนใจ
ติดต่อที่มือถือ 087-215-2805 คุณเจื่อจันทร์ โพสาราช


การปลูกหอม


ต้นหอมเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน และพี่น้องชาวเกษตรกรที่หันมาประกอบอาชีพนี้แทนการปลูกข้าว เนื่องจากภาพพื้นดินบางแบ่งขาดความอุดมสมบูรณ์ไม่สามารถปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตตามต้องการได้
ปัจจุบันเกษตรกร บ้านกอกได้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหอมขึ้นเพื่อเป็นตลาดในการจำหน่าย และลดการตรึงราคาจากพ่อค้าคนกลางทำให้ผู้ปลูกหอมมีรายได้มากขึ้น เพราะมีรูปแบบการซื้อขายแบบยกสวน

ข้าวกล้องงอก

อาชีพ
รายละเอียดผู้ประกอบอาชีพ นายโสนว์ สอนสี กำนันตำบลบ้านบาก เป็นประธานกลุ่มการทำข้าวกล้องงอก การศึกษาจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจาก กศน.ศรีสมเด็จ
เกียรติประวัติ ได้รับรางวัลกำนันแหนบทองคำ
สถานที่ตั้ง ที่ทำการกำนัน บ้านหนองผักตบ หมู่ที่ 1 พิกัด ละติจูด 15.9866059 ลองติจูด 103.5402589
. ทำจากข้าวเปลือก วิธีการทำมีขั้นต่อ ดังนี้
(1) นำข้าวเปลือกไปล้างน้ำ
(2) นำข้าวเปลือกไปแช่น้ำ 24 ชั่วโมง
(3) นำข้าวเปลือกไปอบประมาณ 40 องศา นาน 48 ชั่วโมง
(4) นำข้าวเปลือกไปนึ่งที่อุณหภูมิ 100 องศา นาน 40 นาที
(5) นำข้าวเปลือกไปลดความชื้นโดยการตากแดด หรืออบลดความชื้น ให้เหลือประมาณ 15%
(6) นำไปสีด้วยเครื่องสีข้าวกล้อง V 5.9
(7) นำไปบรรจุ ศึกษาเพิ่มเติม

แหล่งเรียนรู็ ทอผ้า

แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยี่
ประวัติความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้
การทอผ้านับว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ผู้เป็นช่างทอจะต้องมีความสามารถในการใช้ สีของเส้นด้ายประกอบกันให้เกิดความสวยงามเหมาะสม และการแต่งแต้มสีทำให้เกิด ลวดลาย การย้อม โดยเฉพาะผ้าที่เรียกว่า "ผ้ามัดหมี่" หากผู้ใดได้จับชมแล้วยากที่จะ วางลงได้ การทอผ้านับเป็นสถาปัตยกรรมอีกด้วย เพราะช่างทอผ้าต้องออกเเบบลายผ้าของ
ตนเองขึ้นมา โดยการนำลักษณะต่าง ๆ ของธรรมชาติเช่น ดอกไม้ ดาว เดือน สัตว์ ของใช้ มาคิดประดิษฐ์ประดอยเป็นลายผ้า จนมีชื่อเรียกตามลักษณะของสิ่งเหล่านั้น เฃ่น ดอกแก้ว บ่าง กระเบี้ย (ผีเสื้อ) รันร่ม ขอคำเดือน ขิด สำรวจ(จรวด) หงส์ และมีการพัฒนาลายผ้าจากที่คิดให้มีความซับซ้อนสวยงามยิ่งขึ้น เช่น ลายขอซ้อนน้อย(เล็ก) ซ้อนใหญ่ ลายด่านน้อย ด่านกลาง ด่านใหญ่ หงส์น้อย ลายหงส์ใหญ่ การสืบทอด การถ่ายทอด ในสมัยโบราณผู้คนเรียนรู้หนังสือน้อยหรือแทบไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนเลย โดยเฉพาะผู้หญิง ซึ่งต้องมีหน้าที่ในงานบ้านเลี้ยงลูก ทำงานทอผ้า เพื่อใช้ในการนุ่งห่มของคนในครอบครัวหลังจากเวลาว่างจากการทำไร่ทำนา อาศัยเวลากลางคืนบ้าง เวลาหยุดพักเพื่อรอคอยการเก็บเกี่ยวผลผลิตบ้าง นับว่าเป็นงานหนักพอสมควรสำหรับหญิงไทย เพราะเมื่อเลิกงานประจำวันแล้วยังต้องมาประกอบอาหารดูแล
ลูก ๆ และสามีให้รับประทานอาหารจนอิ่มและเข้านอนแล้ว ตนเองก็ยังมิได้พักผ่อนหลับ นอนยังต้องนั่งเก็บฝ้าย (เก็บสิ่งเจือปนออกจากปุยฝ้าย) เข็นฝ้าย ดีดฝ้าย มัดหมี่ เพื่อเตรียมไว้เมื่อว่างเว้นจาการทำงานจริง ๆ แล้วจึงจะทำการทอผ้าศึกษาเพิ่มเติม