TKP HEADLINE

การทอผ้าลายขิด


ภูมิปัญญญาท้องถิ่น การทอผ้าลายขิด ข้อมูลทั่วไป
ผ้า ขิด เป็นวิธีการทำลวดลายบนผืนผ้า ด้วยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไป เหมือนการจก
แต่ลายขิดทำติดต่อกันตลอดหน้ากว้างของผืนผ้า โดยใช้ไม้แผ่นบางๆ เรียกว่า "ไม้ค้ำ" สอดเข้าไปในเส้น ด้ายยืน เพื่อสร้างลวดลายที่ต้องการ หรือทำลวดลายขิดจากเครื่องมือที่เรียกว่า "เขา" โดยสะกิดเส้นด้ายยืนขึ้นตลอดหน้ากว้างของผืนผ้า และเพิ่มเส้นด้ายพุ่งไปตามแนวเส้นด้ายยืนที่ช้อนขึ้นนั้น เส้นด้ายพุ่งและเส้นด้ายยืนจะขัดกันตามจังหวะที่ต้องการ จนเกิดเป็นลวดลายต่างๆ ที่เห็นจากทั้งด้านหน้าและด้านหลังของผืนผ้า ผ้าขิด นิยมทอในกลุ่มชนเชื้อสายไท ลาวซึ่งอาศัยอยู่ทั่วไปในแถบสองฝั่งลุ่มแม่น้ำโขง บางส่วนของภาคเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งทอด้วยลวดลายที่สวยงาม เช่นลายคชสีห์องค์น้อย ลายดอกแก้ว หรือลายช้างทรงเครื่องเป็นต้น และมีการทอขึ้นเพื่อใช้ในโอกาสพิเศษ ในงานมงคล หรือพิธีทางศาสนา จะใช้ทำหมอนขิด เพื่อเป็นของขวัญของกำนัลในโอกาสที่สำคัญ รองลงมาจะใช้ทำผ้าคลุมไหล่และผ้าโพกผมเป็นของขวัญของกำนัลให้แก่กัน นับถือกันว่าเป็นของดี ของสูง ในสมัยก่อนจึงเก็บผ้าขิดไว้บนที่สูง เช่นบนโต๊ะ หัวนอน หรือผูกแขวนไว้บนเพดาน ภูมิปัญญญาท้องถิ่น

Share this:

Post a Comment

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand